วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

    1.การวิเคราะห์หลักสูตร คือ วามทันสมัยในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน อุปกรณ์ที่ช่วยเสริมไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สองสิ่งนี้นับว่ามีอิทธิพลต่อการศึกษาเพราะเป็นแหล่งคนหาข้อมูลสำคัญๆที่เป็นแหล่งที่หาได้ง่ายที่สุดและใกล้ตัวมากที่สุด  ในด้านเนื้อหาของหลักสูตรเห็นได้ว่ามีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับนักเรียนมากที่สุดและเพื่อให้เข้ากับสถานศึกษาด้วยเพราะบางสถานศึกษามีจำนวนของครูผู้สอนที่ไม่เพียงพอจึงทำให้บางวิชาไม่ได้เรียนหรือได้เรียนน้อยกว่าวิชาอื่น
2.การวิเคราะห์ผู้เรียน คือ เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน
  3. การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย คือ การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นฯสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
  การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น
 เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล  ได้แก่  วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน
 4. การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน เป็นการสอนโดยนำสื่อต่างๆและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีความทันสมัยในกระบวนการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากสื่อมากขึ้น
5. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ เป็นกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สามารถวัดได้ครอบคลุมทั้งเนื้อหาวิชา พฤติกรรม และผลผลิตของผู้เรียน
- การวัดเป็นกระบวนการในการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆในเชิงปริมาณอย่างเป็นระบบ
- การประเมินผลนำผลที่ได้จากการวัดมาใช้ในการตัดสินใจโดยการนำผลการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในด้านพัฒนาการต่างๆของผู้เรีย
6. การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ จะทำให้ผู้ประเมินรู้ว่าผลการเรียนของเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดและจะได้ปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความสามารถที่จะรับและเข้าใจเรื่องที่เรียนเพียงใดจะได้พัฒนาผู้เรียนอย่างถูกต้อง
7. การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน เป็นการทำวิจัยโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์ของครู ถือได้ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของครู

      ตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
                                            แผนการจัดการเรียนรู้ที่
กลุ่มสาระการเรียนรู้     สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม       ชั้น     มัธยมศึกษาปีที่ 1ภาคเรียนที่     2    ปีการศึกษา    2551   ชื่อวิชา    สังคมศึกษา   ศาสนาและวัฒนธรรม  5  ( 31101 )
หน่วยการเรียนรู้ที่    1    เรื่อง     วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    2    จำนวน    3    ชั่วโมง   
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน  4.1  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจวิธีการสืบค้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และสามารถจำแนกยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เพื่อสรุปถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

2. สาระการเรียนรู้
            1. ความหมาย   ลักษณะ    ประเภทและความสำคัญของหลักฐานทาง           ประวัติศาสตร์ไทย
            2.  ความหมาย  ความสำคัญ  และขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
            3.  ตัวอย่างการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
            4.  การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
            3.1  จุดประสงค์ปลายทาง
            สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
            3.2  จุดประสงค์นำทาง
            1. จำแนกประเภทของหลักฐาน และประเมินคุณค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้
2.วิเคราะห์  เปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้
3.รู้และเข้าใจความหมาย ความสำคัญ  และขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
            4.รู้จักวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
4. เนื้อหาสาระ
            วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการ หรือขั้นตอนที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตให้มีความสมบูรณ์  น่าเชื่อถือ  ใกล้เคียงกับความจริง  โดยอาศัยจากหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  ผ่านการรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์และประเมินคุณค่าทางหลักฐาน  เลือกสรรและจัดหาความสัมพันธ์ของข้อมูลสุดท้ายหรือการเรียบเรียงและนำเสนอ

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่  1
            ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                        1. ครูนำนักเรียนสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เดิม  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบ        คำถามที่อาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง
                        2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                        3. ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนที่ต้องการให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย  ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ได้
ขั้นสอน
                        4. อธิบายถึงความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์   หลักเกณฑ์การจำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์แบบสากล
                        5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยให้นักเรียนศึกษาในเรื่อง
                                    5.1 ลักษณะของหลักฐาน 
                                                -   หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                                -   หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                    5.2 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
                                                -   หลักฐานชั้นต้น ( หลักฐานปฐมภูมิ )
                                                -   หลักฐานชั้นรอง ( หลักฐานทุติยภูมิ )
                        โดยให้นักเรียนศึกษาจากหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 4  โดยให้นักเรียนทำเป็นแผนผังความคิด  โดยทำให้มีความน่าสนใจ  กำหนดเวลา 10 นาที
            6. ให้ตัวแทนนักเรียนในแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง
            7. ครูอธิบายเพิ่มเติมจากที่นักเรียนออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตน
ขั้นสรุป
            8. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาสรุปเนื้อหาที่เรียน

ชั่วโมงที่  2
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1. ครูนำสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว  และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบคำถามที่ผิดบ้างถูกบ้าง
ขั้นสอน
            2. ครูอธิบายถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์  ความหมาย  ความสำคัญ  และขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
            3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ  5  คน  ศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์จากหนังสือประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสรุปเป็นแผนผังความคิด
            4. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอแผนผังความคิดของกลุ่มตนเอง
            5. ครูสรุปเพิ่มเติมให้กับนักเรียนอีกครั้ง
            6. ครูสั่งให้นักเรียนไปเตรียมหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากลุ่มล่ะ 1 ชิ้น
ขั้นสรุป
            7. ครูให้ตัวแทนนักเรียนสรุปเนื้อหาที่เรียน

ชั่วโมงที่           3
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
            1. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปในคาบที่แล้ว
ขั้นสอน
            2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มล่ะ 5 คน  ให้นักเรียนศึกษาหลักฐานที่เตรียมมาจากที่ครูสั่งในคาบที่แล้ว  โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ครูสอนในคาบที่แล้ว  โดยกำหนดเวลา  15  นาที
            3. ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงานในการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนนำมา 
            4. ครูช่วยเสนอแนะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาหลักฐานให้นักเรียนอีกครั้ง
ขั้นสรุป
            5. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
            6. ครูให้ตัวแทนนักเรียนกล่าวสรุปอีกครั้ง


กิจกรรมที่ 10

กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
       แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่แผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ยึดแนวสันปันน้ำอันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า ปราสาทพระวิหาร เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและบริเวณรอบๆ ว่าเป็นส่วนของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยืนต่อศาลระหว่างประเทศยืนยันที่จะยึดแนวเส้นเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง
กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานจังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
นายกษิต ภิรมย์  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?   แต่ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้ นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า: คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆเป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า: ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา(ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น
กรณี MOU43
        นายชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ  ผม คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าวว่ากองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร
กรณี คนไทย 7 คน
     สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ๒ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คนไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน

กิจกรรมที่ 9

จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
            จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตราฐานของหลักสูตร
และสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
            คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอเพื่อนักเรียนจะได้ความรู้มากกว่าเดิม

กิจกรรมที่ 8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ 
         วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรม องค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
  แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
              แนว คิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล 
แนวทางพัฒนาองค์การ
              การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure)  วิทยาการสมัยใหม่  (Technology)  ระบบงาน  (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล  

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ             
          1.การธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ          2.การกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ          3.การพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน          4.การพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
           เนื่อง จากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการ สั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ




กิจกรรมที่ 7

     การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ      การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครู  ออกเป็น  3  ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนัก