วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6

     จากการอ่านบทความนี้สามารถ  สรุปและแสดงความคิดเห็นและนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้ดังนี้
      การศึกษาวิชาชีพย่อมมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ
 มาตรฐานวิชาชีพ จะมี จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
     การแบ่งมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู สามารถแบ่งได้เป็น  2 ส่วน
มาตรฐานความรู้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์
         มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วย
สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู  ได้โดยการเน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการให้ผู้เรียนมีคุณภาพทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน และยังสามารถฝึกการมีจรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 5

    สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความนี้ คือ…….. 
       ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบเราสามารถสังเกตพฤติกรรมแล้วเลียนแบบพฤติกรรมที่ดีมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตการเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน  สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป  บทความนี้จะสามารถทำให้ทราบถึงต้นแบบที่ดีที่จะอยุ่ในฐานะเป็นแม่แบบและในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง 
      จากบทความเราสามารถทราบได้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่มีฟฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก  พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา

ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทควา
    1.สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติว่าการเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อสิ่ง  ต่างๆ และมีความปรารถนาดีต่อลูกศิษย์เสมอ 
     2.นำมาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นให้มีพฤติกรรมให้ดีขึ้น
    3. นำมาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ตนเองในการเป็นต้นแบบที่ดี

กิจกรรมที่ 4

สิ่งที่รับจากการที่ได้เรียนรู้จากการอ่านบทความ คือ.....
     การเป็น ผู้นำในอดีตกับปัจจุบันยังมีความสำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งการจัดการของคนนั้นหากให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การสิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่ใช้การจัดการ ภาวะผู้นำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจะให้สำเร็จนั้นจะต้องมีความศรัทธา ในส่วนของวิสัยทัศน์บางครั้งอาจมีน้ำหนักไม่เพียง การสร้างศรัทธาในที่นี้เป็นการสร้าง ความชอบ ความเชื่อ และเรื่องของการยอมรับ ซึ่งมันไม่ต้องมีเหตุผล ในการสร้างศรัทธาในตัวของผู้นำคือ ผู้ให้ ซึ่งผู้ให้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จะเห็นได้ว่าธุรกิจในปัจจุบันนั้นจะเป็นการแข่งขัน เป้าหมายของการแข็งขันคือชัยชนะ แต่การชัยชนะของผู้นำที่แท้จริงจะมองรางวัลที่ได้เป็นรางวัลของสำหรับทุกคน
     การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน 

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

                                                              
                               ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ

          ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ ร.น. ราชบัณฑิต เกิดวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ที่ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของ ขุนกัลยาณวิทย์ (เกิด มนุญปิจุ) อดีตศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี และนางกิม มนุญปิจุ สมรสกับนางวิภาวรรณ มนุญปิจุ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายณัฐเสกข์ (กวิช) มนุญปิจุ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอินทรีย์เคมี เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการให้เกิดความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และได้รับอิสริยาภรณ์ Den Tiroler Adler-Orden in Gold และ Grosse Goldene Ehrenzeichen Fur Verdienste Um Die Republik Osterreich จากประเทศออสเตรีย [1] ในเวลาเดียวกันก็มีความรอบรู้ และมีความสามารถยิ่งในด้านการบริหารการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นผู้คิดค้นและดำเนินการทำระบบการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2504-2050 โดยจัดการสอบคัดเลือกร่วมครั้งแรก สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และต่อมาได้ขยายใช้กับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ [2] อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ทำให้การอุดมศึกษาไทยก้าวทันพัฒนาการในยุคโลกาภิวัตน์ มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล
ประวัติการทำงาน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ ร.น. ราชบัณฑิต เริ่มรับราชการ และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และต่อมาได้ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระหว่าง พ.ศ. 25142518 และรักษาราชการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2519-2521 ระหว่างนี้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการวางระบบการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทำให้กระบวนการบริหารจัดการสอบมีขั้นตอนโปร่งใสและมีประสิทธิภาพจวบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อ.ก.ม.วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2516-2519 และทั้งยังได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร International Organization of Chemical Sciences for Development (IOCD) ภายใต้การสนับสนุนของ UNESCO ให้เป็น Vice President สำหรับภูมิภาคเอเชีย ในปี พ.ศ. 2524

สิ่งที่ประทับใจ
ท่านเป็นคนมีความสามารถในการทำงานมีผลงานมากมายที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง




วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี
การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
    1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
   2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization  Theory ) ของ อังรี
ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor
  3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
  3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
  3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
  3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
  3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
  3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
   1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
   2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
   3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
   ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
     1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (
Chester I Barnard )
     2.ทฤษฎีของมาสโลว์ 
     3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y )
     4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน

2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
        การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด มนุษยสัมพันธ์”*

http://www.kru-itth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=420816&Ntype=6

กิจกรรมที่ 1

การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่


วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ:นางสาวสุภาวดี บุญเดช
ชื่อเล่น: ออย
รหัสนักศึกษา 5111116106
โปรแกรม:สังคมศึกษา
หอ:ชัชวาล
ที่อยู่:175 หมู่ 4 ต.โคกหาร
อ.เขาพนม จ.กระบี่ 81140
โทร:0898739692
จบจากโรงเรียน :เสม็ดจวนวิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช
คติ:ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
เกิด 3 กรฎาคม  2531
กรุ๊ปเลือด  AB