วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

                                                              
                               ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ

          ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ ร.น. ราชบัณฑิต เกิดวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ที่ตำบลบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของ ขุนกัลยาณวิทย์ (เกิด มนุญปิจุ) อดีตศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี และนางกิม มนุญปิจุ สมรสกับนางวิภาวรรณ มนุญปิจุ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายณัฐเสกข์ (กวิช) มนุญปิจุ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอินทรีย์เคมี เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการให้เกิดความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และได้รับอิสริยาภรณ์ Den Tiroler Adler-Orden in Gold และ Grosse Goldene Ehrenzeichen Fur Verdienste Um Die Republik Osterreich จากประเทศออสเตรีย [1] ในเวลาเดียวกันก็มีความรอบรู้ และมีความสามารถยิ่งในด้านการบริหารการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นผู้คิดค้นและดำเนินการทำระบบการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2504-2050 โดยจัดการสอบคัดเลือกร่วมครั้งแรก สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) และต่อมาได้ขยายใช้กับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ [2] อีกทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ทำให้การอุดมศึกษาไทยก้าวทันพัฒนาการในยุคโลกาภิวัตน์ มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล
ประวัติการทำงาน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.ต. กำจร มนุญปิจุ ร.น. ราชบัณฑิต เริ่มรับราชการ และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และต่อมาได้ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลระหว่าง พ.ศ. 25142518 และรักษาราชการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2519-2521 ระหว่างนี้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการวางระบบการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ทำให้กระบวนการบริหารจัดการสอบมีขั้นตอนโปร่งใสและมีประสิทธิภาพจวบจนปัจจุบัน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อ.ก.ม.วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2516-2519 และทั้งยังได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร International Organization of Chemical Sciences for Development (IOCD) ภายใต้การสนับสนุนของ UNESCO ให้เป็น Vice President สำหรับภูมิภาคเอเชีย ในปี พ.ศ. 2524

สิ่งที่ประทับใจ
ท่านเป็นคนมีความสามารถในการทำงานมีผลงานมากมายที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น